เมนู

ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้นันทมารดาอุบาสิกา
เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถา แล้วลุกจาก
อาสนะหลีกไป.
จบ มาตาสูตรที่ 10

อรรถกถามาตาสูตรที่ 10


มาตาสูตรที่ 10 พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงด้วยอัตถุป-
ปัตติเหตุเกิดแห่งเรื่อง ดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า พระศาสดา ทรงจำพรรษาปวารณาแล้ว ทรงละ
พระอัครสาวกทั้งปวงไว้ เสด็จออกไปด้วยหมายจะเสด็จจาริกใน
ทักขิณาคิรีชนบท. พระเจ้าปเสนทิโกศล ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี
วิสาขามหาอุบาสิขา และชนอื่นเป็นอันมาก ไม่สามารถจะให้
พระศาสดาเสด็จกลับได้. ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี. ลำดับนั้น
นางทาสีชื่อปุณณา เห็นเข้าแล้วจึงถามว่า นายท่านมีอินทรีย์ไม่
ผ่องใสเหมือนแต่ก่อน เป็นเพราะเหตุไรเจ้าคะ ท่านคฤหบดีตอบว่า
จริงสิ ปุณณา พระศาสดาเสด็จออกไปสู่ที่จาริกแล้ว ข้าไม่อาจ
ทำให้พระองค์เสด็จกลับได้ ทั้งก็ไม่ทราบว่า พระองค์จะเสด็จกลับมา
เร็วหรือไม่ เพราะเหตุนั้นข้าจึงนั่งครุ่นคิดอยู่. นางทาสีถามว่า

ถ้าดิฉันให้พระทศพลเสด็จกลับได้เล่า ท่านเศรษฐีจะทำอย่างไร
แก่ดิฉันเจ้าคะ ท่านคฤหบดี ตอบว่า ข้าจะทำให้เจ้าเป็นไทสิ. นางทาสี
ไปถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ของพระองค์โปรดเสด็จกลับเถิดพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า
เพราะเหตุที่เรากลับเจ้าจักกระทำอะไรเล่า ? นางทาสีทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดทรงทราบว่าข้าพระองค์เป็นคน
อาศัยผู้อื่นเขา หม่อนฉันไม่อาจทำอะไรอื่นได้ แต่หม่อมฉันจักตั้งอยู่
ในสรณะ รักษาศีล 5. พระศาสดาตรัสไว้ว่า ดีละ ดีละ ปุณณา แล้ว
เสด็จกลับเพียงย่างพระบาทไปก้าวเดียวเท่านั้น เพราะความเคารพ
ในธรรม. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคต เคารพในธรรม มีธรรมเป็นที่เคารพ. พระศาสดาเสด็จกลับ
เข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหาร. มหาชนได้ให้สาธุการพันหนึ่ง
แก่นางปุณณา. พระศาสดาทรงแสดงธรรมในสมาคมนั้น. สัตว์
84,000 ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ฝ่ายนางปุณณา อันเศรษฐีอนุญาต
ได้ไปสู่สำนักของนางภิกษุณีแล้วบรรพชา. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ให้ตรัสเรียกพระสารีบุตรและมหาโมคคัลลานะมาแล้วตรัสว่า เรา
ออกจาริกไป ณ ทิศใด เราจะไม่ไปในทิศนั้น พวกเธอพร้อมบริษัท
ของเธอ จงไปจาริก ณ ทิศนั้น ดังนี้แล้วจึงส่งไป. คำอาทิว่า เอกํ
สมยํ ยายฺสมา สารีปุตฺโต
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพราะอัตถุป-
ปัตติเหตุเกิดขึ้นแห่งเรื่องนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุกณฺฏกี ได้แก่ผู้อยู่เมือง
เวฬุกัณฏกะ. ได้ยินว่า ชาวเมืองเหล่านั้นพากันปลูกต้นไผ่รอบ

กำแพง เพื่อจะรักษากำแพงเมืองนั้น. เพราะเหตุนั้น เมืองนั้นจึงมีชื่อว่า
เวฬุกัณฏกะนั่นแล. บทว่า ปารายนํ ความว่า ซึ่งธรรม อันได้โวหารว่า
ปารายนะ. เพราะเป็นที่ดำเนินไปถึงฝั่งคือพระนิพพาน. บทว่า
สเรน ภาสติ ความว่า นันทมารดาอริยสาวิกา นั่งในที่มีอารักขา
อันเขาจัดแจงไว้ดีแล้ว บนพื้นชั้นบนแห่งปราสาท 7 ชั้น ให้ครึ่งราตี
ผ่านล่วงไปด้วยกำลังแห่งสมาบัติ ครั้นออกจากสมาบัติแล้วคิดว่า
เราจักให้ราตรีที่เหลือเพียงเท่านี้ ผ่านล่วงไปด้วยความยินดีเพียงไหน ?
แล้วกระทำความตกลงว่า จะให้ผ่านล่วงไปด้วยความยินดีในธรรม
ดังนี้แล้วนั่งบรรลุผล 3 จึงกล่าวปารายนสูตร ประมาณ 250 คาถา
โดยทำนองสรภัญญะอันไพเราะ
บทว่า อสฺโสสิ โข ความว่า ท้าวเวสสวัณมหาราชทรงตรวจ
ดูวิมานอันตั้งอยู่ในอากาศแล้ว ขึ้นสู่ยานนาริวาหนะ เสด็จออกไป
โดยทางอันผ่านส่วนเบื้องบนปราสาทนั้น ได้ยินเสียง (ปารายนสูตร)
แล้ว. บทว่า กถาปริโยสานํ อาคมยมาโน อฏฺฐาสิ ความว่า ท้าว-
เวสวัณมหาราชนั้น ครั้นตรัสถามว่า พนาย นั่นเสียงอะไร เมื่อ
ยักขบริษัททูลว่า นั่นคือเสียงสวดโดยทำนองสรภัญญะ ของนันท-
มารดาอุบาสิกา ดังนี้แล้ว เสด็จลงรอคอยการจบเทศนานี้ว่า อิทมโวจ
แล้วประทับยืนบนอากาศในที่ไม่ไกลนัก. บทว่า สาธุ ภคินิ สาธุ
ภคินิ ความว่า ท้าวเวสวัณมหาราช ตรัสว่า พี่ท่าน พระธรรม-
เทศนาท่านรับมาดีแล้ว กล่าวดีแล้ว เราไม่เห็นอะไรที่จะต่างกัน
ระหว่างวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับที่ปาสาณกเจดีย์ ตรัสแก่
ปารายนิกพราหมณ์ 16 คน และที่นี้ท่านกล่าววันนี้ คำที่นี่

ท่านกล่าวแล้ว เป็นเสมือนกับพระดำรัสที่พระศาสดาตรัสแล้วนั่นแล.
เหมือนกับทองที่ขาดตรงกลาง เมื่อจะให้สาธุการจึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า โก ปเนโส ภทฺรมุข ความว่า เพราะเสียงที่ดังถึง
เพียงนี้ ก้องไปในที่ ๆ มีอารักขาไว้ดังนี้ นันทมารดาอริยสาวิกา
ผู้บรรลุผล 3 แล้ว ปราศจากความเกรงกลัว ปิดหน้าต่าง มีสีเหมือน
แผ่นทองคำ กล่าวว่า พ่อปากดี พ่อปากงาม ท่านนี้เป็นใคร เป็นนาค
หรือครุฑ เป็นเทวดา เป็นมาร หรือเป็นพรหม ดังนี้แล้ว เมื่อจะกล่าว
กับท้าวเวสวัณ จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อหนฺเต ภคนิ ภาตา ความว่า
ท้าวเวสวัณ ทรงสำคัญพระอริยสาวิกาผู้เป็นพระอนาคามีว่าพี่
เพราะพระองค์เองเป็นพระโสดาบัน จึงตรัสว่าภคินิพี่ท่าน แล้วจึง
สำคัญพระอริยสาวิกาผู้เป็นพระอนาคามีนั้นนั้นว่าเป็นน้องของ
พระองค์อีก เพราะนางยังอยู่ในปฐมวัย แต่พระองค์แก่กว่า เพราะ
ทรงมีพระชนมายุ 9 ล้านปีแล้ว จึงตรัสเรียกพระองค์เองว่า ภาตา
พี่ชาย.
บทว่า สาธุ ภฺทรมุข ความว่า ท่านผู้มีภักตร์อันเจริญ การมาของ
ท่านเป็นประโยชน์ เป็นความดี เป็นการมาดี อธิบายว่า มาในฐานะ
ที่เหมาะที่จะมาจริง ๆ . บทว่า อิทํ เต โหตุ อาติเถยฺยํ อธิบายว่า
ขอการกล่าวธรรมนี้แหละ จงเป็นบรรณาการอย่างดียิ่งสำหรับท่าน
เพราะข้าพเจ้ามองไม่เห็นสิ่งอื่นที่ควรให้แก่ท่านที่อันยวดยิ่งไปกว่า
นี้. คำว่า เอวญฺจ เม ภวิสฺสติ อาติเถยฺยํ ความว่า ท้าวเวสวัณเมื่อ
ครั้นขอปัตติทานเพื่อตนอย่างนี้แล้วกล่าวว่า นี้เป็นสักการะเพื่อ
ความเป็นพระธรรมถึกของท่านแล้ว ทำยุ้ง 1250 ยุ้งเต็มด้วย

ข้าวสาลีแดงแล้วอธิษฐานว่า ขอข้าวสาลีเหล่านี้อย่าได้สิ้นไปตลอด
เวลาที่ บาสิกายังเที่ยวไปอยู่แล้วก็หลีกไป. ชนทั้งหลายไม่สามารถ
จะเห็น พื้นชั้นล่างของยุ้งตลอดเวลาอุบาสิกายังดำรงอยู่. ตั้งแต่นั้นมา
จึงเกิดโวหารสำนวนขึ้นว่า เหมือนเรือนยุ้งของนันทมารดา. บทว่า
อกตปาตราโส ได้แก่ ผู้ยังไม่บริโภคอาหารเข้า.
บทว่า ปุญฺญํ ได้แก่ บุพพเจตนา เจตนาก่อนแต่ให้ทาน
และ มุญจนเจรนา เจตนาขณะให้ทานแล้ว. บทว่า ปุญฺญมหี ได้แก่
อปรเจตนา เจตนาภายหลังไห้ทานแล้ว. บทว่า สาขาย โหติ ความว่า
จงเพื่อประโยชน์แก่ความสุข เพื่อประโยชน์แก่ความเกื้อกูล.
นันทมารดาอริยสาวิกา ได้ให้ปัตติทานแก่ท้าวเวสวัณ ในทานของตน
ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปกรเณ ได้แก่ในเหตุ. บทว่า โอกฺสกฺส
ปสยฺห
ได้แก่ คร่ามา ครอบงำแล้ว. บทว่า ยกฺขโยนิ ได้แก่ ความ
เป็นภุมมเทวดา. บทว่า เตเนว ปุริเมน อตฺตภาเวน อุทฺทสฺเสสิ
ความว่า ภุมมเทพนั้น เนรมิตร่างกายให้เหมือนกับร่างกายเก่า
นั่นแล ประดับตกแต่งแล้ว แสดงตนบนพื้นที่นอน ในห้องอันประกอบ
ด้วยศิริ. บทว่า อุปาสิกา ปฏิเทสิตา ความว่า แสดงความที่ตนเป็น
อุบาสิกา อย่างนี้ว่า ฉันเป็นอุบาสิกานะดังนี้. บทว่า ยาวเทว แปลว่า
เพียงใดนั่นแล. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถานันทมาตาสูตรที่ 10

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. จิตตสูตร 2. ปริกขารสูตร 3. ปฐมอัคคิสูตร 4. ทุติย-
อัคคสูตร 5. ปฐมสัญญาสูตร 6. ทุติยสัญญาสูตร 7. เมถุนสูตร
8. สังโยคสูตร 9. ทานสูตร 10. มาตาสูตร.
จบ มหายัญญวรรคที่ 5
จบ ปฐมปัณณาสก์